ประเพณีลงข่วง
ฮีต 12
คลอง 14
บายศรี
ประเพณีขึ้นบ้านใหม่
ประเพณีแต่งงาน
ประเพณีสู่ขวัญข้าว
ประเพณีการซ้อนขวัญ
ประเพณีการเลี้ยงผี

ซ้อนขวัญ
เมื่อเราประสบเรื่องราวร้ายแรงไม่ว่าจะเป็น รถชนหรือเจ็บไข้ได้ป่วย การรักษาที่เราจะได้รับคือการรักษาทางกาย โดยจะทำการ รักษาโดยแพทย์ หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการรักษาหลักๆที่เราจะได้รับเมื่อเราประสบเรื่องร้ายแรงดังกล่าว และนอกจากการรักษาทาง กายที่มีความสำคัญแล้วยังมีการรักษาทางจิตใจที่มีความสำคัญไม่แพ้การรักษาทางกาย ในแต่ละที่แต่ละแห่งจะมีการรักษาทางใจแตกต่างกันไป แล้วแต่ประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อของตน ว่าจะมีการรักษาทางจิตใจกันแบบใด
พิธีช้อนขวัญก็เป็นพิธีการรักษาอาการเจ็บป่วยทางใจของชาวอีสาน ที่ทำแล้วก็สืบทอดกันมายาวนาน ตั่งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ไม่ ค่อยมีให้เห็นเด่นชัดเหมือนแต่ก่อนมากนัก แต่ก็ยังปรากฎให้เห็นบ้างตามชนบทที่มีความเชื่อในเรื่องนี้
พิธีช้อนขวัญจะทำขึ้นในยามที่มีคนได้รับความเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ เช่น รถชน ป่วยเป็นโรคร้ายแรง ชาวอีสานมีความเชื่อ ว่าเมื่อบุคคลใดประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บไข้ได้ป่วยจะทำให้ตกใจ ผวา ทำให้ขวัญหนี หรือเมื่อหายป่วยแล้วจะมีอาการซึมเซา ไม่สดชื่นแจ่มใส เหมือนคนปกติ ชาวอีสานก็จะมีการทำพิธีช้อนขวัญ โดยผู้เฒ่าผู้แก่จะทำพิธีนี้เพื่อช้อนขวัญคนป่วยให้กลับคืนสู่ร่างกายของผู้ป่วย เพื่อให้มี อาการดีขึ้น ชาวอีสานบางคนกล่าวว่า หากไม่ไม่ทำพิธีช้อนขวัญคนป่วยกลับคืนมา อาการของผู้ป่วยจะหนักมากกว่าเดิม แม้อาการทางร่างกายจะ ดีขึ้นแต่อาการทางจิตใจของผู้ป่วยจะทรุดหนักลงกว่าเดิม
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการทำพิธีก็จะมี สวิง ใช้ในการช้อนขวัญ หมากพลู บุหรี่ ข้าวเหนียวหนึ่งปั้น จะนำไปให้ผี ไข่ไก่ ที่ต้มสุกหนึ่งฟอง ฝ้ายใช้สำหรับผูกแขน ของหวานและดอกไม้ ซึ่งบางคนอาจจะไม่เอา
ขั้นตอนการทำพิธีช้อนขวัญ ก็จะนำหมากพลู บุหรี่ ไข่ไก่ ข้าว ฝ้าย ใส่ลงไปในสวิง จากนั้นนำไปยังผู้ป่วย โดยให้ผู้หญิงกลางคนขึ้นไปทำการ ช้อนขวัญ บางคนก็บอกว่าต้องมีผู้ชายถือมีดอยู่ด้านหน้าผู้ช้อน บางคนก็บอกว่าไม่มีก็ได้ บางคนก็บอกว่าต้องมีแต่ผู้หญิงล้วน ล้อมอยูด้าน หน้าเพื่อทำการไล่ขวัญให้เข้าสวิง
ขณะทำกาข้อนครั้งที่หนึ่งผู้ช้อนจะพูดว่า " มาเด้อขวัญเอ้ย " ช้อนครั้งที่สองจะพูดว่า " มาเด้อขวัญเอ้ย " พอมาถึงครั้งที่สาม คนล้อมจะพูดว่า " เข้าหรือยัง " คนช้อนก็จะตอบว่า " เข้าแล้ว " จากนั้นก็จะมีคนมารวบสวิงแล้วนำผ้ามาคลุมแล้วนำกลับบ้านของผู้ป่วย พอมาถึงบ้านคนที่นั่ง รออยู่ที่บ้านก็จะถามว่า " มาไหม " คนที่ถือสวิงอยู่ก็จะตอบว่า " มาแล้ว " จากนั้นก็จะขึ้นไปหาผู้ป่วยแล้วนำเอาสวิงโดยเอา ตรงก้นที่รวบ ไว้แตะลงไปที่หัวใจของคนป่วย เสร็จแล้วนำ หมากพลู ไข่ ข้าวออกจากสวิง โดยนำเอาหมากพลู ไข่ ข้าว ใส่ลงไปในมือผู้ป่วย เอาฝ้ายผูกแขนผู้ป่วย โดยให้คนที่๔อสวิงหรือนำขวัญมาผูกก่อน จากนั้นก็เรียงตามอาวุโส โดยจะอวยพรให้คนป่วยหายและประสบแต่สิ่งดีๆ จากนั้นก็เป็นอันเสร็จพิธี
บางครั้งจะมีการปลอกไข่เพื่อเสี่ยงทาย หากไข่ที่ปลอกออกมามีสภาพปกติก็ถือว่าผู้ป่วยจะหายจากอาการเจ็บป่วย แต่ถ้าหากว่า ถ้าปลอกไข่ออก มาแล้วไข่ไม่ปกติก็จะทำนายว่าผู้ป่วยอาจจะไม่หาย
จะเห็นว่าการทำพิธีช้อนขวัญ จะเป็นการรักษาทางด้านจิตใจมากกว่าการรักษาทางร่างกาย หากเรามีจิตใจที่ดีแข้มแข็งแล้ว โรคร้ายก็ จะบุกมาทำร้ายเราได้ไม่สะดวกนัก และจะทำให้การรักษาทางร่างกายทำได้ง่ายและได้ผลยิ่งขึ้น ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นโรคร้ายใดๆก็ตาม การรักษาทางจิตใจจึงเป็นการรักษาที่มีความสำคัญ จงรักษาจิตใจของท่านให้เข้มแข็งไว้....
ชื่อและนามสกุลมีความสำคัญ ชื่อและนามสกุล เป็นของคู่กัน จะมีชื่อ หรือนามสกุลเพียงอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่ได้ ถ้ามีชื่อ ต้องมีนามสกุลต่อท้าย แต่ที่สำคัญกว่าชื่อ และนามสกุลก็คือ เราอย่าได้ไปดูคน หรือตัดสินคน ด้วยนามสกุลที่ต่อท้ายชื่อเขา จงตัดสินคนด้วยความดี ที่เขาทำ..