ประเพณีลงข่วง
ฮีต 12
คลอง 14
บายศรี
ประเพณีขึ้นบ้านใหม่
ประเพณีแต่งงาน
ประเพณีสู่ขวัญข้าว
ประเพณีการซ้อนขวัญ
ประเพณีการเลี้ยงผี

บายศร
บายศรีเป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าของคนไทย ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่เกิดจะจัด
พิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่างๆ ซึ่งจะต้อง มีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้นๆ ซึ่งเป็นศาสนพิธีของพราหมณ์
คำว่า บาย ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก
บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส
ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับ ภาษาบาลี ว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ

คำว่า " บายศรี " แปลว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่ น่าสัมผัสกับความดีงาม (ความหมายของชาวอีสาน)
บายศรี ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ข้าวอันเป็น สิริ ,ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย
ในพิธีทำขวัญ เนื่องจากการทำพิธีสู่ขวัญ จะมีข้าว ขนม ข้าวต้ม เป็นเครื่องประกอบอันสำคัญ พาขวัญหรือขัน
บายศรี ก่อนทำพิธีสู่ขวัญต้องมีการจัดพาขวัญหรือขันบายศรี พาขวัญหรือขันบายศรี หมายถึง ภาชนะใส่เครื่อง บูชาในการเรียกขวัญ เครื่องประกอบนี้จะทำบนพานหรือขันและตกแต่งให้สวยงามโดยทำด้วยใบไม้ เช่น ใบ
ตองกล้วย เป็นต้นนำมาพับ เป็นกรวยหรือพับ เป็นมุมแหลมแล้วเย็บซ้อนกัน อย่างสวยงามอาจจัดเป็นบายศรีชนิด
๓ ชั้น ๕ ชั้น หรือ ๗ ชั้น แล้วแต่ความเหมาะสมและความต้องการของผู้จัดพิธี บายศรีแต่ละชั้นจะมีพานรองรับ
โดยชั้นล่างมีขนาดใหญ่ และ ชั้นถัดไปมีขนาดใหญ่เล็ก ลดหลั่นกันตามลำดับแต่ละชั้นประกอบด้วยดอกไม้อย่างสวยงามชั้นสูงสุดมีฝ้ายผูกแขน และเทียนเวียนหัว (เทียนที่มีความยาววัดรอบศีรษะของผู้รับการสู่ขวัญ)ภายในบายศรีจะมีเครื่องขวัญ เช่น เมี่ยง หมาก ข้าวเปลือก ข้าวสาร กล้วย อ้อย ข้าวต้มมัดไก่ ไข่ต้ม เนื้อ ปลา ข้าวเหนียวนึ่ง นอกจากนี้มี เครื่องประกอบซึ่ง เป็นเครื่องแต่งตัวของผู้เป็นเจ้าของขวัญ เรียกว่า พาเสื้อพาผ้า ตั้งไว้ข้างขันบายศรี และ เครื่องคาย(เครื่องบูชาครู) ของหมอขวัญผู้ทำพิธีตั้งไว้ข้างขันบายศรีด้วย สู่ขวัญ สู่ขวัญ เป็นการเรียกพิธีเชิญหรือเรียก
ขวัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้รับทำพิธีซึ่งในพิธีกรรม สำคัญของชีวิต มักทำพิธีสู่ขวัญเพื่อให้มีความสุขความเจริญก้าวหน้าหรือความดีงามยิ่งๆขึ้น
เช่น พิธีสู่ขวัญบ่าวสาว สู่ขวัญนาคสู่ขวัญพระภิกษุ สามเณร สู่ขวัญเจ้านาย เป็นต้น การสู่ขวัญของชาวอีสานเป็นเรื่องเกี่ยวกับขวัญและจิตใจเพื่อหา ทางก่อให้ เกิดขวัญหรือกำลังใจที่ดีขึ้น ชาวอีสาน เห็นความสำคัญทางจิตใจมาก ดังนั้นวิถีการดำเนินชีวิตแทบทุกอย่าง จึงมักจะมีการสู่ขวัญ ควบคู่กันไป เสมอเพื่อเป็นการเรียกร้องพลังทางจิตช่วยให้มีพลังใจที่เข้มแข็งสามารถฟันฝ่าภัยพิบัติต่างๆ ได้การสู่ขวัญจะช่วยให้เกิดมงคลทำให้
ชีวิตดำรงอยู่ด้วยความสุขราบรื่น มีโชคลาภยิ่งขึ้น และอาจ ดลบันดาลให้ผู้ที่เคราะห์ร้ายหายจาก สรรพเคราะห์ทั้งปวงด้วยมูลเหตุแห่งการสู่ขวัญ เหตุที่จะมีการสู่ขวัญ โดยปกติมี ๒ ประการ คือ เหตุที่ดีและเหตุที่ไม่ดี
๑. การสู่ขวัญเนื่องในเหตุที่ดี เช่น เด็กเกิด บวช แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ฉลองตำแหน่ง ผูกเสี่ยว การกลับมาบ้าน เหล่านี้จะสู่ขวัญ
เพื่อเป็นสิริมงคลยิ่งๆขึ้น
๒. การสู่ขวัญเนื่องในเหตุที่ไม่ดี ได้แก่ การเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดเหตุร้ายต่างๆที่ทำให้เสียขวัญ การสู่ขวัญทำเพื่อสะเดาะ
เคราะห์ให้หายจากเสนียดจัญไรต่างๆ เพื่อเรียกขวัญให้ขวัญนั้นมาอยู่กับเนื่อกับตัว ทำให้จิตใจของผู้นั้นมีความสุขสบายหายจากเคราะห์ร้าย
ต่างๆ มีพลังใจที่ดีขึ้น


. . พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีสู่ขวัญโบราณ เรียกว่า พิธีบายศรีสู่ขวัญ ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมเก่าแก่ของ
ภาคอีสานโดยทั่วไปมีวิธีทำคล้ายๆกันแต่บางท้องถิ่นอาจทำแตกต่างกันไปบ้าง ขึ้นอยู่กับความนิยมความเชื่อถือ
ของบุคคล การทำพิธีสู่ขวัญเพื่อให้ขวัญหรือกำลังใจดีนั้น อาจทำได้ ๒ วิธี คือ ๑. เมื่อจัดบายศรี(พาขวัญ)หรือ
เครื่องขวัญเสร็จแล้วก็จะทำพิธีสู่ขวัญเลย ๒.จัดให้มีพิธีทางพุทธศาสนาก่อนแล้วจึงทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ การ
ประกอบ พิธีบายศรีสู่ขวัญจะต้องอาศัยคนเฒ่าคนแก่ผู้เป็นนักปราชญ์ผู้ฉลาดหรือผู้รู้วิธีทำซึ่งเรียกว่า "หมอขวัญ" หรือ "พราหมณ์" ทำการสู่ขวัญให้ จึงจะเป็นสิริมงคลได้ผลดีสมความปรารถนา ในโบราณมีการเรียกพิธีสู่ขวัญ
ว่า บาศรี เหตุที่เรียกว่า บาศรี เนื่องมาจากเป็นพิธีสำหรับ บุคคลชั้นเจ้านายผู้ใหญ่ทำกัน จึงมีคำว่า บา อยู่ด้วย บา
ในภาษาโบราณอีสานใช้เป็นคำนำหน้าเรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า ศรี หมายถึง
ผู้หญิงและสิ่งที่เป็รสิริมงคล บาศรี จึงหมายถึง การทำพิธีที่เป็นสิริมงคลแต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยม
เรียกกันแล้ว มักนิยมเรียกว่า บายศรี เป็นส่วนมาก พิธีการสู่ขวัญ จะมีหลายแบบอย่าง แล้วแต่ว่าจะจัดพิธีสู่ขวัญ
เรื่องใด เช่น สู่ขวัญเด็ก สู่ขวัญนาค สู่ขวัญคนป่วย สู่ขวัญบ่าวสาวหรือสู่ขวัญ สัตว์และสิ่งของต่างๆ ก็จัดทำได้
ทั้งนั้นแต่การปฏิบัตินอกจากจะมี เครื่องขวัญที่ใช้ในพิธีเรียกขวัญแล้ว พิธีการต่างๆจะแตกต่างกันไปเป็นปลีกย่อยและมีพิเศษบ้าง แล้วแต่ลักษณะ
พิธีของการสู่ขวัญนั้นๆ สำหรับ พิธีบายศรีสู่ขวัญคนทั่วๆไป ก็จะมีการจัดเตรียมบายศรี หรือเครื่องขวัญให้พร้อม มีหมอขวัญมาทำพิธี มีผู้รับ
ขวัญและญาติมิตรมาร่วมในพิธีด้วย หมอขวัญ จะเป็นผู้ประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยเริ่ม กล่าวเชิญเทวดาอารักษ์ เพื่อให้มาเป็นสักขีพยานและ
ดลบันดาลให้เจ้าของขวัญประสบแต่ความสุขความเจริญ กล่าวคำเชิญขวัญและกล่าวคำสู่ขวัญ เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้รับขวัญ เมื่อจบคำสู่ขวัญ
แล้ว ตามประเพณีโบราณมักจะทำพิธีกรรมอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า "ฟายเหล้า" ซึ่งเป็นพิธีการขับเสนียดจัญไรและเคราะห์เข็ญต่างๆ ออกไปจาก
ผู้รับขวัญหมอขวัญจะกล่าวคำฟายเหล้าและทำการผูกแขนด้วยด้ายที่อยู่บนบายศรี และกล่าวคำผูกแขนให้ผู้รับขวัญ(ด้ายสำหรับผูกแขนนี้ภาษา
ถิ่นอีสาน นิยมเรียกว่า"ฝ้ายผูกแขน") โดยจะใส่เครื่องประกอบ บางส่วน เช่น ช้าว ไข่ต้ม ขนมไว้ในมือของผู้รับขวัญด้วย เมื่อผูกแขนเสร็จแล้ว
ผู้รับการสู่ขวัญจะยกมือไหว้รับพรแล้วจะกินข้าวและอาหารในมือบางส่วนพอเป็นพิธี จากนั้นผู้มาร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญจะผูกแขนให้ผู้รับการสู่
ขวัญและอวยพรให้ เมื่อทำการผูกแขนจนทั่วแล้วภายหลังมักมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารแก่ผู้มาร่วมพิธีด้วย เป็นอันเสร็จพิธีบายศรีสู่ขวัญประเพณี
บายศรีสู่ขวัญในภาคอีสาน เป็นประเพณีที่ประชาชนส่วนมากยังนิยมปฏิบัติกันอยู่ทั่วไปเพราะถือว่าเป็นพิธีที่เป็นสิริมงคลเป็นการมอบความปรา-
รถนาดีและดลบันดาลให้ผู้รับการทำพิธี ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องมีความสุขความเจริญและทำให้จิตใจสงบสุขสบายทั้งยังเป็นประเพณี ที่ส่งเสริม
ให้ประชาชนมีความรักใคร่สามาคคีกันเป็นอย่างดีนับเป็นวัฒนธรรมที่ดี อย่างหนึ่งของชาวอีสาน ควรที่จะอนุรักษ์ให้มีอยู่ตลอดไป